Custom Search

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

พลังงานไทย..อย่าให้ใครดูถูก Episode III

" เนื่องจากปั๊มน้ำมัน Mobil ที่เคยอยู่หน้าบ้าน ได้ปิดตัวลงไปแล้ว จึงขออุทิศเรื่องราวใน Blog นี้ ได้เป็นสิ่งเตือนใจว่า บริษัทอื่นที่ลงทุนอยู่ในประเทศไทย ก็อยู่ต่อไปไม่ไหวเหมือนกันในสภาพการถูกควบคุมและแทรกแซงราคาน้ำมันเช่นนี้"

โลกแห่งการกลั่นน้ำมัน (ต่อ)

3. โรงกลั่นน้ำมันนำ น้ำมันดิบเข้าสู่หอกลั่นแล้วได้เป็นน้ำมันสำเร็จรูป (Oil Products) ต่างๆ เช่น เบนซิน ดีเซล และน้ำมันอื่นๆอีกมากมาย

เมื่อจัดการเรื่องการนำเข้าน้ำมันดิบเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็จะมาเริ่มกลั่นน้ำมันดิบกันนะครับ คุณรู้หรือไม่ว่า น้ำมันดิบที่นำเข้ามา เมื่อกลั่นแล้ว ได้น้ำมันหลายชนิด ไล่ตั้งแต่ gasoline, diesel oil, liquefied petroleum gases (LPG), jet aircraft fuel, kerosene, heating fuel oils, lubricating oils, asphalt and petroleum coke รวมแล้วเกือบๆ 10 ตัวแน่ะ แต่ทั้งหมดนี้ ไม่ใช่ทุกตัวที่ค่าการกลั่นเป็นบวกนะครับ ค่าการกลั่นเป็นลบก็มี แปลว่าอะไร แปลว่าเมื่อนำเข้าน้ำมันดิบมากลั่นแล้ว จะมีน้ำมันสำเร็จรูปส่วนหนึ่งที่ขายได้ต่ำกว่าราคาต้นทุน!!!

นี่ก็เป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงของโรงกลั่นในการดำเนินการ เพราะถ้าราคาของน้ำมันสำเร็จรูปส่วนนี้ลด ต่ำลงอย่างมาก ก็จะไปฉุดผลประกอบการของบริษัทเช่นกัน

4. การนำน้ำมันสำเร็จรูปออกมาขายที่ราคา ณ โรงกลั่น

ทราบหรือไม่ว่าค่าการกลั่นเป็นเท่าไหร่?? วิธีคิดก็ง่ายๆครับ เอาราคาขาย ลบต้นทุน ถูกไหมครับ ซึ่งนั่นก็คือ ราคาน้ำมัน (สำเร็จรูป) ณ โรงกลั่น – ราคานำเข้าน้ำมันดิบ เราจะมาดูกันนะครับ ว่าที่เป็นประเด็นกันนักหนา ว่าค่าการกลั่นบวกอะไรก็ไม่รู้เต็มไปหมดเลยนี่ มันจะซักกี่บาทกันเชียว เริ่มจากราคานำเข้าน้ำมันดิบที่เป็นต้นทุนก่อนนะครับ ซึ่งข้อมูลล่าสุดเดือน กรกฎาคม ปี 2552 อยู่ที่ 14.93 บาท/ลิตร ( http://www.doeb.go.th/information/info_conclude52.html) แล้วลองมาดูราคาน้ำมัน (สำเร็จรูป) ณ โรงกลั่น จากโครงสร้างราคาน้ำมันวันที่ 21 กรกฎาคม 2552 ดังตารางด้านล่าง(http://www.eppo.go.th/petro/price/index.html)

ที่ต้องเลือกวันที่ 21 เพราะราคาน้ำมันมันเปลี่ยนแปลงตลอดทั้งเดือน จึงต้องหาวันที่ดูแล้วน่าจะใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของทั้งเดือนมากที่สุด เพื่อนำมาใช้เปรียบเทียบกับราคานำเข้าเฉลี่ยเดือนกรกฎาคม ที่อยู่ที่ 14.93 บาท/ลิตร ลองมาไล่หากันทีละตัวเลยนะครับ ว่าค่าการกลั่นที่โรงกลั่นได้เป็นเท่าไหร่






บาท/ลิตร


ราคาน้ำมันสำเร็จรูป ณ โรงกลั่น

ราคานำเข้าน้ำมันดิบ

ค่าการกลั่น

ค่าการกลั่น+ราคา Ethanol/น้ำมันปาล์มที่นำมาผสม


(AVG)

(AVG)

(AVG)

(AVG)

ULG 95R ; UNL

15.9127

14.93

0.9827

-

ULG 91R ; UNL

15.4921

14.93

0.5621

-

GASOHOL95 E10

16.585

14.93

-

1.655

GASOHOL91

16.4001

14.93

-

1.4701

GASOHOL95 E20

17.1627

14.93

-

2.2327

GASOHOL95 E85

19.9819

14.93

-

5.0519

H-DIESEL(0.035%S)

15.9575

14.93

1.0275

-

BIODIESEL (B5)

16.2817

14.93

-

1.3517

FO 600 (1) 2%S

13.8757

14.93

-1.0543

-

FO 1500 (2) 2%S

13.9438

14.93

-0.9862

-

LPG (B/KG.)

10.996

14.93

-3.934

-

จะเห็นว่าค่าการกลั่นอยู่แถวๆ 1-2 บาท/ลิตรเท่านั้นเองนะครับ ที่โรงกลั่นได้ส่วนต่างนี้ไป และจะเห็นว่าน้ำมันเตา (FO) และ LPG มีค่าการกลั่นติดลบ โดยที่ LPG นั้นถูกควบคุมราคาไว้โดยรัฐบาล ส่วนน้ำมัน Gasohol 95, 91 ทั้งหลาย และ Biodiesel ค่าการกลั่นก็จะเท่ากับ เบนซิน 95, 91 และ Diesel แต่ที่ราคา ณ โรงกลั่นสูงกว่าเนื่องจากต้องมีการรวมต้นทุนค่า Ethanol/น้ำมันปาล์ม ที่นำมาผสมเข้าไปด้วย ดังแสดงไว้ในช่องทางขวามือสุด

ดังนั้นคุณจ่าย ค่าการกลั่นเพียง 1-2 บาท/ลิตร จากที่คุณจ่ายค่าน้ำมันทั้งหมด 30-40 บาท/ลิตร และถึงโรงกลั่นจะไม่เอาค่าการกลั่นเลย ตัดทิ้งไปให้หมด ก็ไม่ได้ทำให้ราคาน้ำมันถูกลงได้มาก อย่างที่ทุกคนต้องการ และจากตารางโครงสร้างราคาน้ำมันสำเร็จรูปทางด้านบน จะเห็นว่าที่ประชาชนตาดำๆ ต้องจ่ายกันอย่างสิ้นเปลือง ประกอบด้วย ภาษีต่างๆ กองทุนต่างๆ และต้นทุนนำเข้าน้ำมันดิบซึ่งเฉพาะต้นทุนนี่ก็ปาเข้าไป 14.93 บาท/ลิตรแล้ว

ค่าการกลั่นนี้ก็เป็นเพียงกำไรขั้นต้น (ราคาขายน้ำมันสำเร็จรูป – ราคาซื้อน้ำมันดิบ) เท่านั้น ซึ่งกำไรส่วนนี้ต้องเอาไปหักค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ค่าแรงคนงาน ค่าบำรุงรักษา ต้นทุนที่ได้ลงทุนไปในการสร้างโรงกลั่น ต้นทุนทางการเงิน ค่าใช้จ่ายทางภาษีต่างๆ ฯลฯ ซึ่งเมื่อหักลบแล้วจึงจะได้กำไรสุทธิของโรงกลั่น ดังนั้นกำไรสุทธิของโรงกลั่นแต่ละโรง มากน้อยแตกต่างกันตรงการบริหารจัดการต้นทุนเหล่านี้ครับ

อันนี้เป็นเพียงเรื่องของราคาและค่าการกลั่น ไหนๆก็ไหนๆแล้วครับ อย่าดูแต่เรื่องของราคาเลย มันแคบไปครับ เรามาดูปัจจัยอื่นกันบ้างดีกว่าครับ

ข้าวมันไก่ VS โรงกลั่น

เอาใกล้ๆ ตัว ที่กินกันบ่อยๆ เนี่ยล่ะครับ จะเป็นตัวอย่างได้ดีที่สุด โดยปกติ เราจะเห็นไก่ต้มทั้งตัว แขวนอยู่ตามร้านข้าวมันไก่ เนื่องจากลูกค้า ก็มีความต้องการลักษณะเนื้อไก่ที่แตกต่างกัน บางคนสั่งเนื้อล้วน บางคนสั่งเนื้อหนัง บางคนชอบเนื้อน่อง บางคนชอบเนื้อหน้าอก บางคน..สั่งๆมาเหอะ กินได้หมด ความต้องการของคนกินมีหลากหลาย ในขณะที่ไก่ 1 ตัว มีปริมาณเนื้อแต่ละส่วนที่ Fix อยู่แล้ว กล่าวคือ มี 1 หน้าอก 2 น่อง 2 สะโพก 2 ปีก อะไรประมาณนี้ สมมติว่าลูกค้าในร้านข้าวมันไก่ของคุณชอบกินเนื้อหน้าอกกันเหลือเกิ๊นนนน ไม่ว่าหน้าใหม่หน้าเก่าที่แวะเวียนมา ก็จะสั่งแต่เนื้อหน้าอก แต่อย่างที่บอกคือ ไก่ยังมีเนื้อส่วนอื่นๆ ทีนี้ทำยังไงล่ะครับ 1 ตัว มีอกอยู่ 1 แต่มีส่วนอื่นๆ อยู่ตั้งส่วนละ 2 ก็ของเหลือเต็มเลยน่ะสิครับ คุณมีสองทางเลือกคือ ไม่เอาไปขายต่อวันพรุ่งนี้ หรือไม่ก็ต้องทิ้งไป ทีนี้เรื่องนี้มันเกี่ยวกับโรงกลั่นอย่างไร?? ไก่ 1 ตัว ก็เหมือนน้ำมันดิบครับ ที่มีสัดส่วน (yield) ที่จะสามารถกลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปแต่ละตัวอยู่ เช่น น้ำมันดิบ 100 บาร์เรล เมื่อกลั่นแล้วอาจจะได้เบนซิน 20 บาร์เรล ดีเซล 40 บาร์เรล น้ำมันอากาศยาน 10 บาร์เรล น้ำมันเตา 10 บาร์เรล และอื่นๆอีก 20 บาร์เรล ทั้งนี้ตัวเลขสัดส่วน (yield) เหล่านี้ ก็จะแตกต่างกันไปตามแหล่งที่มาของน้ำมันดิบ เช่น น้ำมันดิบจากบางที่ อาจกลั่นแล้วได้ Diesel เยอะ มาก ในขณะที่บางแหล่งอาจจะได้เบนซินเยอะ (อันนี้ คอร์สเคมีอาจารย์อุ๊ ม.ปลายก็มี) ปัญหามันอยู่ผู้ซื้อครับ ผู้บริโภคน้ำมันอย่างเราๆ มีความต้องการที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับลูกค้าข้าวมันไก่ สมมติว่าประเทศเราบริโภคน้ำมันเบนซินกัน 40 บาร์เรล และดีเซล 40 บาร์เรล ผมถามว่าถ้านำเข้าน้ำมันดิบ ที่มีสัดส่วน (yield) แบบที่กล่าวทางด้านบนมา จะต้องนำเข้าเท่าไหร่จึงจะเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนครับ? 200 บาร์เรลถูกไหมครับ เพราะ 100 บาร์เรลได้เบนซินเพียง 20 บาร์เรล แต่เมื่อนำเข้ามา 200 บาร์เรล ก็จะได้ดีเซล 80 บาร์เรลเป็นเงาตามตัว ในขณะที่ภายในประเทศใช้กันเพียง 40 บาร์เรล ดีเซลที่เหลืออีก 40 บาร์เรลคุณจะเอาไปทิ้งแบบเนื้อไก่ หรือจะส่งออกไปขายต่างประเทศครับ?? นี่ล่ะครับ ที่มาของการส่งออก ซึ่งจริงๆแล้วการส่งออก ไม่ได้เกิดจากการที่ประเทศไทยมีแหล่งพลังงานเหลือเฟือ แต่เกิดจากการนำเข้าน้ำมันดิบที่มี spec ไม่ตรงกับความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปของคนในประเทศมากลั่น ทำให้มีน้ำมันสำเร็จรูปเหลือส่งออกได้ หลายคนอาจจะถามต่อว่า แล้วทำไมไม่นำเข้าน้ำมันดิบที่มี spec ตรงตาม Demand ของประเทศไทยล่ะ? เพราะเราไม่สามารถกำหนด spec ของน้ำมันดิบเองได้ครับ มันขึ้นมาจากใต้ดินแบบไหน เราก็ต้องใช้แบบนั้นไป

Comment: ข้อมูลในหน้า 5 จากหนังสือพลังงานไทย..พลังงานใคร?

ก. การใช้คำว่า “ส่งออกน้ำมัน” หรือ “ส่งออกพลังงาน” ฟังแล้วก็ไม่ผิดอะไร แต่ว่ามันเป็นการ Mislead ผู้อ่านอย่างรุนแรงครับ เพราะจริงๆ แล้วที่เราส่งออกคือน้ำมันสำเร็จรูปส่วนเกิน ที่ผลิตมาจากน้ำมันดิบที่ต้องนำเข้ามา การสื่อความเช่นนี้ทำให้ผู้อ่านคิดว่าประเทศไทยมีน้ำมันเหลือเฟือจนถึงขั้นส่งออกได้แต่จริงๆแล้ววัตถุดิบ ประเทศไทยต้องนำเข้าครับ อย่างที่เขียนไว้ใน Episode I ครับ ว่าอย่าสับสนคำว่า น้ำมันดิบ กับน้ำมันสำเร็จรูป เพราะตอนนี้เอามาปนกันจนวิเคราะห์ผิดไปหมด เวลาจะสื่อสารต้องสื่อสารให้ชัดเจนและมีความถูกต้อง ด้วยนะครับ คำเพียง สองสามคำ ก็ทำให้ข้อเท็จจริงถูกบิดเบือนไปได้ครับ

ตัวอย่างการใช้คำในหน้า 5 ที่ไม่ค่อยจะถูกต้องนักจากหนังสือ "พลังงานไทย..พลังงานใคร?" ครับ

Comment: ข้อมูลในหน้า 6 จากหนังสือพลังงานไทย..พลังงานใคร?

ก. หน้านี้ยิ่งไปกันใหญ่เลยครับ เป็นความสับสนของผู้เขียน ระหว่างคำว่าน้ำมันดิบ กับน้ำมันสำเร็จรูปอีกตามเคย ถ้าพูดว่าเราไม่ได้นำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปน่ะ ถูกต้องครับ แต่ถ้าบอกว่าไม่ได้นำเข้าน้ำมันดิบและสูบขึ้นมาจากใต้ดินเราได้เองและเพียงพอเนี่ย ผิดครับ เรากลั่นน้ำมันสำเร็จรูปได้ในประเทศก็จริง แต่วัตถุดิบซึ่งก็คือน้ำมันดิบที่นำมากลั่น มันนำเข้ามาแทบทั้งนั้น (อ่านรายละเอียดได้ใน Episode I) อย่างนี้จะไม่ให้อิงราคาตลาดโลกที่ตลาดในประเทศสิงคโปร์ได้อย่างไรกันล่ะครับ ถ้าไม่อิง ผู้ขายก็ขาดทุนสิครับ แล้วใครจะลงทุนต่อล่ะ?? แล้วยิ่งบอกว่าเป็นเจ้าของบ่อน้ำมันหลายบ่อเนี่ย หลายบ่อจริงครับ แต่คิดเป็นแค่ 15% ของปริมาณการใช้ทั่วประเทศทั้งหมดนะครับ ไม่เหมือนประเทศมาเลเซียที่เขามีน้ำมันดิบเพียงพอใช้ภายในประเทศของเขาเอง น้ำมันสำเร็จรูปที่เขากลั่นจึงขายที่ราคาถูกกว่าเราได้

ข. เรื่องราคาที่อิงราคาตลาดโลกที่ตลาดในประเทศสิงคโปร์นั้น มันไม่ใช่แค่เสมือนนำเข้าครับ มันนำเข้าจริงๆเลยครับ ผมแปลกใจนะครับ ที่ข้อมูลที่ผมนำมา ก็เป็นแหล่งข้อมูลเดียวกันกับที่หนังสือเล่มนี้นำมา แต่ทำไมหนังสือเล่มนี้จึงเขียนเช่นนี้ เรื่องของพลังงานเอามาแต่ตัวเลขไม่ได้ครับ ต้องมีความเข้าใจด้วย

ตัวอย่างความสับสนที่ยังคงคิดว่ามีน้ำมันดิบเพียงพอในประเทศ อยู่ในหน้า 6 จากหนังสือ "พลังงานไทย..พลังงานใคร?" ครับ

Comment: ข้อมูลในหน้า 7 จากหนังสือพลังงานไทย..พลังงานใคร??

ก. อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วครับ ว่าค่าการกลั่น และค่าโสหุ้ย นั้น มันไม่ได้เป็นกำไร 100% ครับ อย่าเข้าใจผิด คนที่เคยเรียนบัญชีมา คงเข้าใจที่ผมพูดได้ไม่ยาก ถ้าจะวิเคราะห์เรื่องนี้ ผมขอนะครับ มี Basic ทางบัญชีมานิดนึงก็ยังดี จะได้ไม่ตีความตัวเลขไปผิดๆ ค่าการกลั่นที่โรงกลั่นได้ไปนั้นเป็นเพียงกำไรขั้นต้น ที่ยังไม่หักค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ค่าแรงคนงาน ค่าบำรุงรักษา ต้นทุนที่ได้ลงทุนไปในการสร้างโรงกลั่น ต้นทุนทางการเงิน ค่าใช้จ่ายทางภาษีต่างๆ ฯลฯ ซึ่งเมื่อหักลบแล้วจึงจะได้กำไรสุทธิของโรงกลั่น ค่าการกลั่นนี้แหละ ที่เป็นเงินที่โรงกลั่นเขาเอาไปใช้ในการทำให้กระบวนการกลั่นสามารถดำเนินการต่อไปได้ มิฉะนั้นแล้ว จะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายค่าแรง ค่าซ่อมบำรุง ค่าลงทุน ค่าภาษี ฯลฯ ครับ แต่ผมก็เห็นด้วยนะครับ ว่าควรตัดบางค่าทิ้งไปเช่น ค่าขนส่ง ค่าสูญเสีย ค่าประกัน แต่ถามว่าเมื่อตัดแล้ว มันจะช่วยผู้บริโภคได้มากจริงหรือ ลองกลับไปอ่านหัวข้อที่ 4 ของ Episode III ครับ ค่าการกลั่น+ค่าโสหุ้ย แค่ 1-2 บาท/ลิตรเอง ซึ่งผมว่าถ้าหักพวกค่าขนส่ง ค่าประกันออกไป คงหักได้ไม่เกินบาทนึง ถามว่าผู้บริโภคจะรู้สึกว่าราคาน้ำมันถูกลงหรือไม่ครับ ผมคนนึงล่ะครับที่ไม่รู้สึก เพราะมันแค่บาทเดียว สู้ไปลดภาษีนู่นนี่ ที่แฝงอยู่ในราคาน้ำมันตั้ง 10-20 บาท/ลิตร ไม่ดีกว่าเหรอครับ

ตัวอย่างเรื่องของค่าการกลั่น อยู่ในหน้า 7 จากหนังสือ "พลังงานไทย..พลังงานใคร?" ครับ

Comment: ข้อมูลในหน้า 8 และ 9 จากหนังสือพลังงานไทย..พลังงานใคร?

ก. ธุรกิจการกลั่นมีแต่กำไรจริงหรือ?? ตัวเลขปี 2551 ที่ผ่านมา น่าจะแสดงให้เห็นแล้วนะครับ ว่าคุณสรุปผิด ธุรกิจนี้มีวัฏจักรครับ 7-8 ปีที่แล้วนู้น ธุรกิจการกลั่นก็ติดลบกันระนาว ถ้าคุณเห็นตัวเลขติดลบว่ามันคือกำไร ผมก็ยอมล่ะครับ แต่ถ้าเงินในกระเป๋าคุณมันติดลบ ผมหวังว่าคุณคงไม่หลอกตัวเองนะครับว่าคุณมีเงิน

ข. เรื่อง นำเข้าก็ยังคงเข้าใจผิดเหมือนเดิมนะครับในหน้านี้ ไม่ได้นำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปมาก็จริง แต่ยังไงๆ ก็ต้องนำเข้าน้ำมันดิบมากลั่นครับ อาจเรียกได้ว่าเป็นการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปทางอ้อมก็ได้ เพราะฉะนั้นประเทศไทยกลั่นน้ำมันสำเร็จรูปได้เกินความต้องการก็จริง แต่ที่กลั่นนั้น มาจากวัตถุดิบที่ต้องนำเข้าทั้งนั้นครับ อย่าลืม!!! และการว่ารัฐบาลเช่นนี้มันก็ออกจะไม่เป็นธรรมไปสักหน่อย จำได้ไหมครับ ว่ารัฐต้องการให้คนไทยรู้จักคุณค่าของพลังงาน ถ้าราคาถูกเกินไปรับรองว่าพี่ไทยผลาญกันแน่นอนครับ รัฐจึงต้องพยายามคุมราคาไม่ให้ต่ำเกิน หรือสูงเกินไป แต่ต้องตั้งให้อยู่ในระดับที่คนไทยจะมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งพลังงาน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ ให้อยู่ยืนยาวไปจนชั่วลูกชั่วหลานครับ

ค. เรื่องค่าโสหุ้ย เห็นด้วยครับ ที่สามารถหักบางตัวออกไปได้ แต่มันไม่เยอะอย่างที่คุณวาดหวังไว้หรอกนะครับ ที่สำคัญคือเมื่อหักออกไปแล้ว ประชาชนจะไม่รู้สึกหรอกครับ ว่าน้ำมันถูกลง นอกจากนี้แล้วจะไปเพิ่มความเสี่ยงให้กับโรงกลั่นอย่างที่ได้กล่าวไว้ในหัวข้อที่ 2 ของ Episode II ครับว่า อาจจะไปทำลายสภาพคล่องของโรงกลั่นเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจได้ และเมื่อเป็นเช่นนั้น ใครจะมากลั่นน้ำมันให้ประชาชนใช้กันล่ะครับ จะทำอะไรต้องดู Trade-off ดีๆ นะครับ อย่ามองเพียงระยะสั้นด้วยความเห็นแก่ตัว เพราะผลกระทบในระยะยาวต่อประเทศมันจะไม่คุ้มกัน เข้าใจครับว่ามีความหวังดีต่อประชาชน แต่อย่าลืมดูผลกระทบที่จะตามมา เพราะมันไม่ใช่เป็นเพียงแค่เรื่องของการลดราคา แต่มันอาจจะเป็นภัยและส่งผลร้ายต่อประเทศได้ด้วยครับ เวลามองอะไร อยากให้มองผลกระทบในหลายๆด้าน ที่จะเกิดขึ้นกับ Stakeholder ทั้งหมด ไม่ใช่มองแต่ผู้บริโภคด้านเดียวครับ

ตัวอย่างความเข้าใจผิดในธุรกิจการกลั่น อยู่ในหน้า 8 และ 9 จากหนังสือ "พลังงานไทย..พลังงานใคร?" ครับ

Comment: ข้อมูลในหน้า 10 จากหนังสือพลังงานไทย..พลังงานใคร?

ก. อันนี้ก็นานาจิตตังนะครับ เพราะถ้ายังไม่เข้าใจธุรกิจพลังงานอย่างแท้จริง ก็จะยังคงเห็นว่าประชาชนเสียประโยชน์อยู่วันยังค่ำ โดยที่บริษัทเอกชนได้ประโยชน์ไปเต็มๆ แต่จริงๆแล้วผมกลับคิดว่าผู้กำผลประโยชน์ที่แท้จริงคือรัฐบาลครับ ในขณะที่ประชาชน และบริษัทเอกชนไม่ได้ไม่เสียอะไร ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ เพราะรัฐบาลได้รับภาษีไปเต็มๆ โดยไม่ต้องลงทุนและไม่มีความเสี่ยงใดๆ เลยทั้งสิ้น ซึ่งตรงนี้แปลว่าประเทศได้ประโยชน์ครับ เงินภาษีเอาไปบริหารประเทศ ส่วนประชาชนนั้นแม้จะจ่ายค่าน้ำมันแพง (จากภาษีให้ภาครัฐเป็นหลัก) แต่ค่าก๊าซที่ใช้กันยังถือว่าถูกมาก (รัฐและบริษัทเอกชนช่วยกัน Subsidize) ซึ่งจุดนี้เป็นกำไรของประชาชน ในขณะที่บริษัทเอกชนขายน้ำมันที่ราคาปกติ (อิงตามราคาวัตถุดิบที่ต้องนำเข้า) ซึ่งก็มีกำไรบ้าง แต่ก็ยังต้องขายก๊าซด้วยราคาที่ขาดทุน บริษัทเอกชนจึงถือว่าไม่ได้ไม่เสียอะไร ทำไมกำไรเยอะ แต่ผมถึงบอกว่าไม่ได้ไม่เสียอะไรล่ะ ก็เรื่องเดิมนั่นแหละครับ คุณคิดว่ากำไรเยอะเพราะเห็นตัวเลขเป็นหลักหมื่นล้าน ใช้ความรู้สึกตัดสินเอาว่าหลักหมื่นล้านมันเยอะ แต่คุณลืมเทียบไปว่า บริษัทเหล่านี้ใช้เงินลงทุนไปมหาศาลสักแค่ไหน เขาลงทุนกันเป็นหลักแสนล้าน ถึง ล้านล้านบาทนะครับ จึงไม่แปลกที่เขาจะมีกำไรเป็นตัวเลขถึงขนาดนี้ ถึงแม้ Margin จะต่ำ แต่เขาได้เยอะจาก Volume ที่ขาย ซึ่งก็ต้องอาศัยการลงทุนสร้าง Facility ที่ใหญ่ ใช้เงินเยอะ และความเสี่ยงสูงด้วย ถ้าลองคิดกำไรที่ได้ต่อเงินที่ลงทุนไปเป็นเปอเซ็นต์ มันก็อยู่ในระดับที่ธุรกิจพอจะดำเนินงานต่อไปได้เท่านั้นเอง ไม่ได้มากมายอะไรเลย

ข. พูดถึงเรื่องการผูกขาด ผมก็ไม่แน่ใจนะครับ ว่าคนไทย รวมไปถึงท่าน ส.ว. ต้องการแบบไหนกันแน่ จะเอาผูกขาด หรือจะเอาเสรี ถ้าคุณต้องการเสรี ตอนนี้โรงกลั่นและราคาพลังงานก็เสรีอยู่แล้วครับ แต่ละโรงกลั่นถึงแม้จะมี ปตท เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่การแข่งขันระหว่างโรงกลั่นมันก็ยังคงมีอยู่ครับ แต่เมื่อไหร่ที่คุณเข้าไปแทรกแซง ด้วยการหักค่าโสหุ้ยต่างๆทิ้งไป เมื่อนั้นตลาดจะเริ่มกลายเป็นตลาดผูกขาดครับ ลองคิดดูดีๆนะครับ เมื่อมีการควบคุมราคาเกิดขึ้นนั่นหมายความว่า คนทั่วๆไป จะเข้าไปลงทุนในธุรกิจนี้ได้ยากขึ้น เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่ธุรกิจอาจจะขาดทุนได้ ดังนั้นจะไม่มีใครนำเม็ดเงินเข้าไปลงทุน และกรณีเช่นนี้ล่ะครับ ที่ผมจะเรียกว่าตลาดผูกขาด และเป็นการกีดกันตลาดเสรีเพื่อไม่ให้มีคนเข้าไปแข่งขันกัน ดังนั้นการเรียกร้องให้คุมราคา เปรียบเสมือนการต้องการให้เกิดตลาดผูกขาดขึ้นนะครับ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วตกลงว่าอยากได้ตลาดผูกขาด หรือเสรีกันล่ะครับ?? ถ้าเสรีก็อย่างที่เป็นอยู่ แต่ถ้าต้องการตลาดผูกขาดก็คุมราคาไปเลยครับ ตอนนี้ที่มันเหมือนผูกขาดเพราะคนมีความรู้สึกว่ามันแพงครับ โดยที่ตัวตลาดเองมันไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย ถ้าตลาดผูกขาดจริงราคาน้ำมันคงแพงกว่านี้อีกเยอะครับ ปั๊มก็มีหลายเจ้าหลาย Brand และโรงกลั่นก็มี 7 โรงในประเทศที่แข่งขันกันอยู่ การที่บอกว่า ปตท สามารถกำหนดราคาได้เองนั้นโดยอิสระ และเป็นการผูกขาดนั้น ก็ไม่น่าจะถูกต้องครับ เพราะปตท นั้นมี Market share การขายน้ำมันในประเทศไทยประมาณ 30% (จาก http://www.doeb.go.th/information/info_conclude52.html) ถ้าเกิดกำหนดราคาเองโดยตามใจชอบ คนก็หันไปเติมปั๊มอื่นได้ครับ ดังนั้นไม่ว่าจะมองมุมไหนตลาดก็ยังคงเสรีครับ เรื่องนี้ก็ไม่เข้าใจครับว่ามันผูดขาดยังไง

ตัวอย่างความเข้าใจผิดว่าธุรกิจพลังงาน เป็นธุรกิจที่ผูกขาด อยู่ในหน้า 10 จากหนังสือ "พลังงานไทย..พลังงานใคร?" ครับ

ก่อนจะไปคุยเรื่องก๊าซธรรมชาติกัน ผมขอสรุปเรื่องของการกลั่นไว้ดังนี้ครับ

“การลดค่าการกลั่น มิได้ช่วยให้ราคาน้ำมันถูกลงอย่างมีนัยสำคัญ และธุรกิจการกลั่นมิใช่ธุรกิจที่ผูกขาดแต่อย่างใด แต่การควบคุมราคาต่างหาก ที่จะทำให้เกิดการผูกขาดขึ้น และจะทำให้ไม่มีเอกชนรายใดกล้ามาลงทุน จึงเป็นการกีดกันการค้าเสรีครับ”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น