Custom Search

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

พลังงานไทย..อย่าให้ใครดูถูก Episode II

" เนื่องจากปั๊มน้ำมัน Mobil ที่เคยอยู่หน้าบ้าน ได้ปิดตัวลงไปแล้ว จึงขออุทิศเรื่องราวใน Blog นี้ ได้เป็นสิ่งเตือนใจว่า บริษัทอื่นที่ลงทุนอยู่ในประเทศไทย ก็อยู่ต่อไปไม่ไหวเหมือนกันในสภาพการถูกควบคุมและแทรกแซงราคาน้ำมันเช่นนี้"

โลกแห่งการกลั่นน้ำมัน

หลัง จากที่ขุดน้ำมันดิบกับก๊าซธรรมชาติขึ้นมาได้แล้วเขาเอาไปทำอะไรกันต่อนะ เริ่มที่น้ำมันดิบก่อนแล้วกัน ว่ากว่าจะไปเป็นน้ำมันสำเร็จรูปอย่างพวกเบนซิน ดีเซลที่เราใช้กันอยู่นั้น มันผ่านกระบวนการอะไรมาบ้าง และมีปัจจัยอะไรอีก ที่ต้องคำนึงถึง ในการนำข้อมูลตัวเลขต่างๆ มาวิเคราะห์ ส่วนเรื่องของก๊าซธรรมชาติจะเอาไว้เขียนในหัวข้อต่อๆไปนะครับ งั้นเรามาเริ่มเรื่องของน้ำมันกันเลยดีกว่า

การ ผลิตน้ำมันสำเร็จรูป มีกระบวนการดังนี้คือ เริ่มจากการจัดหาน้ำมันดิบเพื่อนำมากลั่น แล้วขนส่งมาที่โรงกลั่น หลังจากนั้นโรงกลั่นจะทำการกลั่นเพื่อให้ได้เป็นน้ำมันสำเร็จรูปออกมา แล้วจึงนำไปขายครับ ทีนี้เราลองมาดูในรายละเอียดกันดีกว่า ว่าแต่ละขั้นตอนมันเกิดขึ้นได้อย่างไร

1. การจัดหาน้ำมันดิบ (Crude oil)

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วใน Episode I นะ ครับ ว่าประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมันดิบเป็นส่วนมาก ไม่สามารถผลิตได้อย่างเพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ดังนั้นจึงต้องมีการนำเข้าน้ำมันมาจากภายนอกประเทศอย่างแน่นอน จะยกตัวอย่างข้อมูลล่าสุดในช่วงปีนี้ให้ดูนะครับ (จากเวบกระทรวงพลังงาน: http://www.eppo.go.th/info/2petroleum_stat.htm)

1.1 การผลิตน้ำมันดิบภายในประเทศ (จากการขุดเจาะของบริษัทสำรวจและผลิต เช่น ปตท สผ, เชฟรอน ฯลฯ) มีปริมาณ 150,000-160,000 บาร์เรลต่อวัน หรือประมาณ 24-25 ล้านลิตรต่อวัน (เอา159คูณบาร์เรล ให้เป็นลิตรนะครับ)

1.2 ความต้องการ(Demand) น้ำมันสำเร็จรูป (พวกเบนซิน ดีเซลที่เราใช้กันอยู่ล่ะครับ) คิดเป็นปริมาณ 700,000 บาร์เรลต่อวัน หรือประมาณ 111 ล้านลิตรต่อวัน

คุณคิดว่า การมีน้ำมันดิบในประเทศเพียง 25 ล้านลิตร ต่อวัน เพียงพอจะนำมาผลิตน้ำมันสำเร็จรูป พวกเบนซิน ดีเซล และอื่นๆ ได้ 111 ล้านลิตรต่อวันเหรอครับ!!! ไม่มีทาง จากตัวเลขก็เห็นๆกันอยู่ว่า กำลังการผลิตน้ำมันดิบในประเทศคิดเป็นเพียง 22% ของปริมาณความต้องการน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศทั้งหมด (160,000 / 700,000 = 22%) ผมเลยไม่แน่ใจว่าที่พยายามจะประโคมข่าวกันว่าผลิตน้ำมันได้พอในประเทศและ เหลือเยอะจนถึงขั้นส่งออกนี่ มันจะพยายามหลอกตัวเองกันไปถึงไหนครับ!!! เลิก ตีกรอบความคิด แล้วหันมาดูข้อมูลจริงกันดีกว่าครับ อย่าสักแต่ฟังมาแล้วเห็นดีเห็นงามด้วย ควรหัดหาข้อมูลเองแล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยนะครับ ผมไม่บอกให้ทุกคนเชื่อผม แต่อยากกระตุ้นให้คนไทยขยันที่จะหาข้อมูลดิบมาดูเองบ้าง อย่าเอาแต่อ่านหรือฟังการวิเคราะห์จากคนอื่นแล้วคิดว่าตัวเองมีข้อมูลที่ถูก ต้องครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว มันยังไม่ครบหรอกครับถ้าคุณเอาแต่ฟัง และไม่ศึกษาด้วยตัวเอง รู้ไหมครับ ว่าหนึ่งในข้อเสียที่ชาวต่างชาติเขามองคนไทยก็คือ คนไทยนั้นชอบฟังแต่ไม่ชอบอ่าน (ในที่นี้ก็คือการเอาแต่ฟังจากคนอื่น แต่ไม่ยอมหาข้อมูลมาศึกษาด้วยตัวเอง)

เมื่อเข้าใจตรงกันแล้วว่า ประเทศไทยต้องมีการนำเข้าน้ำมันดิบเป็นส่วนมาก เราจะมาดูกันต่อไปว่า น้ำมันดิบถูกนำเข้ามาจากไหน

ตัวเลขนำเข้าน้ำมันดิบล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา 119 ล้านลิตร/วัน หรือ 747,819 บาร์เรล/วัน (http://www.doeb.go.th/information/info_conclude52.html)

โดยการนำเข้าประมาณ 80%-90% มา จากกลุ่มประเทศตะวันออกกลางพวกแถบกาตาร์ ซาอุ อะไรพวกนั้น ส่วนที่เหลืออีกนิดหน่อยมาจากในแถบภูมิภาคเรานี้ครับ แต่การซื้อขายไม่ได้เกิดขึ้นที่แต่ละประเทศเราไปซื้อนะครับ มันเกิดขึ้นที่สิงคโปร์!!!! ทำไมต้องสิงคโปร์? เพราะตลาด Commodity ใหญ่ๆ ของโลก ที่บริษัทน้ำมันทั่วโลกมาทำการซื้อขายกันมีอยู่ไม่กี่ที่ครับ อเมริกา ยุโรป แล้วก็สิงคโปร์จะเป็นตลาดใหญ่ นี่แหละครับเหตุผล ว่าทำไมเราต้องอิงราคาที่เขาซื้อขายกันที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งราคานี้ถูกกำหนดด้วย Demand/Supply จากทั่วโลกนะครับ มิใช่เป็นราคาของเฉพาะประเทศสิงคโปร์ อย่าง ที่มีเข้าใจกันผิดๆอยู่ในขณะนี้ ผมจะยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายแล้วกันนะครับ เวลาคุณซื้อขนมขบเคี้ยวต่างๆ ถามว่าคุณไปซื้อที่ไหนครับ??? ซื้อที่โรงงานที่เขาผลิต หรือซื้อตามตลาด ตาม 7-11?? แน่ นอนครับว่าผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องเจอกันที่ตลาด เช่นเดียวกันกับการซื้อขายน้ำมันครับ มันก็ต้องมีตลาดที่มีไว้ให้ผู้ซื้อผู้ขายได้มาเจอกัน ราคาก็ต้องเป็นราคาที่ตลาดครับ คำกล่าวที่ว่า ประเทศไทยสามารถผลิตน้ำมันได้อย่างเพียงพอ ไม่ควรอิงราคาสิงคโปร์ จึงเป็นคำกล่าวที่ผิด และบิดเบือนข้อเท็จจริงอย่างรุนแรงครับ เพราะจริงๆ แล้วประเทศไทยต้องนำเข้าเป็นหลักและซื้อจากผู้ขายจากหลากหลายประเทศที่มา เสนอราคาขายอยู่ที่ตลาดสิงคโปร์

2. ขนส่งน้ำมันดิบไปยังโรงกลั่นน้ำมันในประเทศ

การ ขนส่งน้ำมันที่นำเข้ามานั้นก็ต้องใช้การขนส่งทางเรือครับ โดยถึงแม้ว่าจะเคาะราคาซื้อขายกันที่สิงคโปร์ แต่ตัวเนื้อน้ำมันจริงก็ยังอยู่ที่ประเทศผู้ผลิต ดังนั้นการขนส่งจึงต้องใช้เวลาพอสมควร ไม่ใช่ว่าสั่งปุ๊บได้ปั๊บ โดยปกติแล้วตั้งแต่ขั้นตอนการสั่งซื้อ จนกระทั่งได้รับน้ำมัน กินระยะเวลาประมาณ 1 อาทิตย์ ถึง 1 เดือน!!!! แปล ว่าเมื่อคุณสั่งซื้อที่ราคานึง (เป็นราคาที่คุณต้องจ่าย) แต่เมื่อเวลาผ่านไปถึงตอนที่คุณได้รับของ ราคาน้ำมันจะเป็นอีกราคานึง (ราคาที่คุณจะนำไปขายต่อได้) เพราะราคาน้ำมันมีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน จุดนี้เองทำให้การผลิตน้ำมันมีความเสี่ยงในเรื่องของราคาที่ค่อนข้างสูง เมื่อมี High Risk ก็ต้องมี High Return เป็นแรงจูงใจเป็นธรรมดา มิฉะนั้นแล้วใครจะฉลาดน้อยเข้าไปลงทุนครับ สู้เอาเงินไปลงทุนในธุรกิจอื่นที่ความเสี่ยงต่ำกว่า แล้วได้ Return เท่ากันไม่ดีกว่าหรือ??? และความเสี่ยงเรื่องราคานี้ได้แสดงฤทธิ์เดชไปแล้วเมื่อปลายปี 2551 ที่ ราคาน้ำมันดิ่งลงอย่างรวดเร็ว จะเห็นว่าโรงกลั่นน้ำมันทุกโรง ประสบกับภาวะขาดทุน ด้วยเหตุผลที่ว่าสั่งซื้อที่ราคาสูง แต่เมื่อได้รับของ ราคาที่จะขายก็ได้ต่ำลงไปอย่างมากแล้ว คล้ายๆ กับเวลาคุณเล่นหุ้นแล้วติดดอยนั่นเองครับ ลองคิดกันนะครับว่า ถ้าบอกว่าโรงกลั่นกำไรเยอะมากกกกก ถามว่าที่บอกว่าเยอะมากนั่นน่ะ เทียบกับอะไรครับ??? ความรู้สึกอีกเหมือนเดิม!!! อย่างที่บอกครับว่าโรงกลั่นนั้นมี High Risk ในเรื่องของราคา ถ้า Return ที่คุณเห็นมันสูงจริง ทำไมเวลาที่ Risk ของ ธุรกิจนี้มันเกิดขึ้น จึงทำให้โรงกลั่นถึงขั้นขาดทุนอย่างมหาศาลได้อย่างในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2551 ล่ะครับ (รวมทุกโรงกลั่นขาดทุนประมาณ 30,000 ล้านบาท) ทั้งหมดที่กล่าวมานี้คืออยากจะบอกว่า ถ้าโรงกลั่นไม่ได้ Return อยู่ในระดับที่เป็นอยู่ ถ้าเกิด Downturn ของ ราคาน้ำมันขึ้นมาอีกที โรงกลั่นอาจถึงขั้นเจ๊ง และไม่สามารถดำเนินกิจการต่อได้นะครับ รู้ไหมครับ ว่าปลายปี 2551 ที่โรงกลั่นสามารถอยู่รอดกันได้นั่นเป็นเพราะ เคยมี High Return ที่ สะสมไว้อยู่ ทำให้ถึงแม้ว่าจะขาดทุนแต่ก็ยังมีสภาพคล่องเพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจได้ คุณดูตัวอย่างในประเทศอเมริกาสิครับ บริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลายที่ล้มๆ กันไปในช่วงปลายปี 2551 คุณอยากเห็นโรงกลั่นของประเทศเป็นเช่นนั้นเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจหรือครับ?? ถ้าโรงกลั่นไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ จะกระทบใครครับ? คุณตอบถูกครับ ประชาชนอย่างพวกเราๆเนี่ยแหละที่จะไม่มีน้ำมันใช้กัน ที นี้เห็นภาพกันหรือยังครับ ต้องคิดผลกระทบให้ทั่วๆ นะครับ ไม่ใช่ว่าจะหวังแต่ของคุณภาพดี ราคาถูกเพียงอย่างเดียว เพราะถ้าถูกเกินไป ระวังอีกหน่อยจะไม่มีให้ใช้กันนะเออ (จริงๆ แล้วค่าการกลั่นที่โรงกลั่นได้ไป ดูแล้วก็ไม่สูงจนน่าเกลียดเกินไปนะครับ แถวๆ 1-2 บาท/ลิตร ซึ่งเดี๋ยวจะมีรายละเอียดของข้อมูลในหัวข้อต่อไปครับ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น