Custom Search

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

พลังงานไทย..อย่าให้ใครดูถูก Episode I

" เนื่องจากปั๊มน้ำมัน Mobil ที่เคยอยู่หน้าบ้าน ได้ปิดตัวลงไปแล้ว จึงขออุทิศเรื่องราวใน Blog นี้ ได้เป็นสิ่งเตือนใจว่า บริษัทอื่นที่ลงทุนอยู่ในประเทศไทย ก็อยู่ต่อไปไม่ไหวเหมือนกันในสภาพการถูกควบคุมและแทรกแซงราคาน้ำมันเช่นนี้"

ก้าวแรก...สู่สังเวียนพลังงาน

ก่อน อื่นเลย อยากจะปูพื้นฐานธุรกิจพลังงานสักนิด ก่อนจะเข้าไปหยิบตัวเลขต่างๆ มาวิเคราะห์ เพื่อที่จะได้เข้าใจที่มาที่ไปของตัวเลขเหล่านั้น และจะได้ไม่นำมาใช้อย่างผิดวัตถุประสงค์ เฉกเช่นที่ปรากฏอยู่ โดยจะมีการนำข้อมูลจากหนังสือพลังงานไทย..พลังงานใคร? มาใช้ประกอบในการยกตัวอย่างประกอบด้วยครับ

ธุรกิจ พลังงานเริ่มจากการสำรวจและผลิต (หลุมในอ่าวไทย และแหล่งบนบกบางแหล่ง) ซึ่งหลุมๆ หนึ่ง อาจจะพบทั้งน้ำมันดิบ ทั้งก๊าซธรรมชาติ ทั้งคอนเดนเสท (ก๊าซธรรมชาติเหลว) ในขณะที่บางหลุมอาจพบเพียงอย่างเดียว หรือสองอย่าง แล้วเมืองไทยล่ะ เป็นอย่างไร?? ตารางด้านล่างมาจากเวบของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ( http://www2.dmf.go.th/download/production.volume.asp ) เดือนสิงหาคม ปี 2551 นะครับ เรียกได้ว่าเอาแบบช่วงที่มีการขุดเจาะ Peak มากๆ มาให้ดูกันเลยครับ ว่ามีผลผลิตเป็นอย่างไร



ก๊าซธรรมชาติ

ก๊าซธรรมชาติเหลว

(คอนเดนเสท)

น้ำมันดิบ

พื้นที่

แหล่ง

(ล้านลบ.ฟุต/วัน)

เทียบเท่าน้ำมันดิบ
(บาร์เรล/วัน)

(บาร์เรล/วัน)

เทียบเท่าน้ำมันดิบ
(บาร์เรล/วัน)


(บาร์เรล/วัน)

ในทะเล

เอราวัณ

277.95

48,474

11,690

10,633

0


บรรพต

46.20

8,057

2,702

2,458

0


สตูลใต้

22.61

3,943

361

328

0


สตูล

88.73

15,475

4,369

3,974

0


ปลาแดง

1.69

294

25

23

0


ตราด

20.16

3,516

528

480

0


ปลาทอง

4.12

719

0

0

604


กะพง

24.45

4,264

0

0

1,977


สุราษฏร์

11.39

1,987

0

0

1,903


ปลาหมึก

70.25

12,252

0

0

14,660


ฟูนาน

146.16

25,491

7,836

7,128

0


จักรวาล

63.77

11,121

2,209

2,009

0


จักรวาล ต.ต.

86.68

15,118

19

17

0


โกมินทร์

9.86

1,720

702

639

0


ไพลิน

226.07

39,427

9,475

8,618

0


ยะลา

131.97

23,015

0

0

17,908


นอร์ธไพลิน

231.30

40,339

15,352

13,964

0


บงกช

650.01

113,362

20,313

18,477

0


อาทิตย์

408.83

71,299

18,871

17,165

0


ทานตะวัน

29.99

4,268

0

0

6,257


เบญจมาศ

144.67

25,230

0

0

46,775


มะลิวัลย์

9.04

1,576

0

0

1,075


จามจุรี

0.26

46

0

0

7


เบญจมาศเหนือ

0.22

39

0

0

199


จัสมิน

0.00

0

0

0

21,562


บัวหลวง

0.00

0

0

0

391

บนบก

สิริกิติ์+อื่นๆ

41.99

7,324

0

0

21,766


น้ำพอง

22.73

3,964

0

0

0


ภูฮ่อม

98.18

17,123

556

506

0


กำแพงแสน

0.00

0

0

0

19


อู่ทอง

0.00

0

0

0

331


สังฆจาย

0.00

0

0

0

107


บึงหญ้า

0.00

0

0

0

529


บึงม่วง

0.00

0

0

0

248


บึงหญ้า และ หนองสระ

0.00

0

0

0

705


วิเชียรบุรี

0.00

0

0

0

164


นาสนุ่น

0.00

0

0

0

906


ศรีเทพ

0.00

0

0

0

11


นาสนุ่น1

0.00

0

0

0

6,044


ฝาง

0.00

0

0

0

1,194

รวมทั้งหมด


2,869.27

499,443

95,008

86,419

145,342

รวมปริมาณการผลิต(เทียบเท่าน้ำมันดิบ)

731,204

บาร์เรล/วัน

หมายเหตุ :



-ปริมาณการผลิตเปรียบเทียบน้ำมันดิบที่ผลิตภายในประเทศซึ่งมีค่าความร้อนเฉลี่ย

5.73

ล้านบีทียู/บาร์เรล

-อัตราการเปรียบเทียบเป็นน้ำมันดิบ



ก๊าซธรรมชาติ 1 ล้านลบ.ฟุต เทียบเท่าน้ำมันดิบ =

174.4

บาร์เรล

ก๊าซธรรมชาติเหลว 1 บาร์เรล เทียบเท่าน้ำมันดิบ =

0.9096

บาร์เรล

นี่คือข้อมูลการผลิตจากทุกแหล่งในประเทศไทยครับ จะเห็นว่าหลุมในประเทศไทยส่วนมาก เป็นหลุมก๊าซครับ ไม่ใช่หลุมน้ำมันดิบ!!! โดยเป็นก๊าซถึง 500,000 บาร์เรล/วัน จากปริมาณการผลิตทั้งหมด 731,204 บาร์เรล/วัน ดูตัวเลขที่เป็นสีน้ำเงินเข้มของทั้งก๊าซ คอนเดนเสท และน้ำมันดิบในตารางนี้ให้ดีนะครับ เพราะเดี๋ยวจะมีการนำไปใช้ในการวิเคราะห์ต่อไป

เมื่อดูตารางนี้แล้ว จะสังเกตเห็นว่า ผลผลิตจากหลุมในประเทศไทยเราสามารถแบ่งได้เป็นสองกลุ่มหลักๆ คือ ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันดิบ (เน้น คำว่าน้ำมันดิบนะครับ เพราะหลายๆ คนสับสนเพียงเพราะคำว่าน้ำมันดิบ กับน้ำมันสำเร็จรูป ทำให้ตีความเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องส่งออกน้ำมันกันไปผิดๆ) เรามาเริ่มดูกันเลยดีกว่า

1. ก๊าซธรรมชาติ

ก๊าซธรรมชาตินั้น สามารถผลิตในประเทศได้อย่างเพียงพอ คิดเป็นปริมาณประมาณ 70%-80% ของการผลิตจากหลุมในประเทศทั้งหมด นั่นหมายความว่า สิ่งที่ประเทศไทยผลิตได้จากแหล่งในประเทศทั้งหมด 721,550 BBL/Day (อิงตามตัวเลขกำลังการผลิตจากหลุมในหน้า 4 ของหนังสือพลังงานไทย..พลังงานใคร?) ส่วนมากแล้ว เป็นก๊าซธรรมชาติ!!!! ไม่ใช่น้ำมันดิบแต่อย่างใด ซึ่งตรงจุดนี้สามารถ confirm ได้จากตัวเลขในตารางข้างบนนะครับ ว่าใน 7 แสนกว่าๆ เนี่ย เป็นก๊าซไปแล้วซะ 5 แสน

2. น้ำมันดิบ

ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 20% ของการผลิตจากหลุมในประเทศ จึงจะเป็นน้ำมันดิบ!!! แปลว่าเราผลิตน้ำมันดิบได้เองเพียงประมาณ 150,000 บาร์เรล/วัน และมีคอนเดนเสทเป็นผลพลอยได้ขึ้นมาอีกเล็กน้อย ถ้ารวมคอนเดนเสทเข้าไปด้วยก็จะได้ประมาณ 2 แสนกว่าบาร์เรล/วัน (จาก http://www.eppo.go.th/info/2petroleum_stat.htm เวบกระทรวงพลังงาน) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ใช่ว่าคอนเดนเสทจะเอาไปใช้แทนน้ำมันดิบได้นะครับ มันคนละเรื่องกัน ทีนี้เราลองมาดู Demand หรือ ปริมาณการใช้น้ำมันในประเทศไทยเท่าไหร่ทราบหรือไม่ครับ…700,000 บาร์เรล/วัน นะครับ (จากแหล่งข้อมูลเดียวกับปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ) แล้วอย่างนี้ ถือว่าน้ำมันดิบเพียงพอที่จะใช้นำไปกลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปหรือไม่ครับ? และถ้าแหล่งภายในประเทศไม่สามารถหาน้ำมันมาตอบสนองผู้บริโภคได้อย่างเพียงพอ เป็นคุณ คุณจะทำเช่นไรครับ??

คง จะเห็นกันแล้วนะครับว่า ที่หลายๆคนกำลังคิดว่าประเทศไทยผลิตน้ำมันได้เยอะนั้น จริงๆ แล้วกำลังเข้าใจผิดอย่างมากครับ เพราะถ้าคุณคิดว่า 150,000 บาร์เรล/วัน เยอะ คุณเทียบกับอะไรล่ะครับที่ว่าเยอะ เทียบด้วยความรู้สึกทั้งนั้นล่ะครับ เห็นเลขหลักแสน ตามความรู้สึกของเกือบทุกคนถือว่าเยอะอย่างแน่นอน แต่ถ้าคุณเทียบกับปริมาณการใช้ที่เป็นหลักเกือบๆ ล้านแล้วละก็ ตัวเลขการผลิตน้ำมันนี่จะจิ๊บจ๊อยไปในทันทีเลยครับ หวังว่า ข้อมูลเบื้องต้นนี้จะช่วยให้หลายๆคนกระจ่าง และเข้าใจกันเสียทีว่า ประเทศเราไม่ได้ผลิตน้ำมันได้เยอะอย่างที่เราคิดกัน

Comment: ข้อมูลในหน้า 4 จากหนังสือพลังงานไทย..พลังงานใคร?

ก. คำกล่าวที่ว่าเรามีวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปถึง 40% ไม่น่าจะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องครับ อาจจะเกิดจากการเข้าใจผิด หยิบตัวเลขมาคำนวณโดยขาดความเข้าใจ ซึ่งผมคาดว่า เลข 40% นี้มาจากการเฉลี่ยปริมาณก๊าซที่มีมากเพียงพอในประเทศ (70% ของการผลิตจากหลุมทั้งหมด) กับปริมาณน้ำมันดิบที่มี ไม่เพียงพอ ในประเทศ (20% ของการผลิตจากหลุมทั้งหมด) ซึ่งจริงๆแล้ว น้ำมันสำเร็จรูปมันจะผลิตจากก๊าซได้อย่างไรกันละครับ การเอาก๊าซมาเฉลี่ยด้วยก็ผิดแล้วล่ะครับ

ข. นอกจากนี้ ที่บอกว่าผลิตน้ำมันได้ 1 ใน 3 ของการ์ตานั้น คุณ ส.. ค่อนข้างจะบิดเบือนข้อมูลไปสักนิดนะครับ ไม่แน่ใจว่าแหล่งข้อมูลจากที่ไหน จริงๆแล้วไม่ถึง 1 ใน 5 ครับ ไทยผลิตน้ำมันดิบได้ 150,000 บาร์เรล/วัน แต่กาตาร์ 8 แสนกว่าครับ (http://www.eia.doe.gov/emeu/cabs/Qatar/Full.html อันนี้เป็นข้อมูลอย่างเป็นทางการนะครับ) อย่าง ที่บอกไปแล้วว่าประเทศไทยเราผลิตได้น้อยมาก เมื่อเทียบกับปริมาณการใช้ทั่วประเทศ แต่ประเทศกาตาร์ใช้เพียงไม่ถึง 100,000 บาร์เรล/วันครับ เขาจึงสามารถส่งออกน้ำมันดิบส่วนที่เหลือกว่า 700,000 บาร์เรล/วัน ไปขายได้ ดังนั้น เราจึงต่างกับเขาตรงนี้แหละครับ กำไรของกาตาร์ เขาได้ตั้งแต่ขุดน้ำมันดิบขึ้นมาส่งออก จนถึงกลั่นขายเป็นน้ำมันสำเร็จรูป และส่งออก แต่ประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมันดิบมากลั่น จึงได้เพียงค่าการกลั่น ดังนั้นความรวยหลักๆ ของกาตาร์ และประเทศตะวันออกกลางทั้งหลายจะได้จากส่วนที่เป็น การที่เขามีน้ำมันดิบในประเทศ ครับ..ซึ่งประเทศเรามีน้อย เราจึงไม่สามารถนำตัวเลขการผลิตของเรา ที่เป็น 1 ใน 5 ของ กาตาร์ มาสรุปได้ว่า เราควรจะรวยเกือบๆ เท่าเขา เพราะเราไม่สามารถส่งออกได้เยอะเท่ากาตาร์ครับ เริ่มเข้าใจสิ่งที่ผมบอกหรือยังครับ ว่าการนำข้อมูลมาใช้ผิดๆ มันเป็นอย่างไร การขาดความเข้าใจในธุรกิจนี้ กำลังสร้างความสับสนให้ท่าน ส.. นะครับ ธุรกิจพลังงาน ต้องใช้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ผู้ที่ไม่เคยสนใจที่จะศึกษาธุรกิจนี้อย่างจริงจัง ย่อมไม่มีความเข้าใจที่เพียงพอ ที่จะนำข้อมูลมาใช้

ก่อนจะลุยกันต่อไป ขอสรุปไว้ดังนี้ครับ

"ประเทศไทยขาดแคลนน้ำมันดิบ (นำเข้ากว่า 80%) ในขณะที่ก๊าซธรรมชาติยังพอมีอยู่ (นำเข้าเพียง 20%)"

ตัวอย่างการนำเสนอข้อมูลที่ผิดจากหนังสือ "พลังงานไทย..พลังงานใคร?" ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น